Pharmacy Division Ramathibodi Hospital

Home
Pharmacist
About
รอบรู้เรื่องยา
คุยกันเรื่องยา

โภชนาการกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ


พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน
ภาควิชาอายุรศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี



จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทย มีมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะมีจำนวนประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2563 (ซึ่งตรงกับ คศ. 2020) ในสภาพปัจจุบัน ผู้สูงอายุไทยมากกว่าครึ่ง ยังอยู่ในสภาพที่ไม่มีความสุขมากนัก เพราะมีทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย เนื่องจากความสูงอายุ ร่วมกับภาวะโรคภัยไข้เจ็บ ที่ทำให้ไม่สามารถมีชีวิตอย่างมีความสุขเท่าที่ควร ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และมีผลปั่นทอนความสุข และสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้แก่
    1. โรคเบาหวาน
    2. โรคความดันโลหิตสูง
    3. โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
    4. โรคหลอดเลือดหัวใจ
    5. โรคคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
    6. อัมพาต และหรือแขนขาอ่อนแรง
    7. ปวดข้อระยะยาว
    8. ปวดหลังระยะยาว
    9. หกล้มและกระดูกหัก (กระดูกต้นขา)
โรคที่ 1–5 นั้น เป็นโรคที่มีการดำเนินโรคค่อนข้างยาวนาน ผู้ป่วยมักจะมีอาการของโรคตั้งแต่ในวัยกลางคน และโรคดำเนินมาเรื่อย ๆ จนแสดงอาการมากและมากที่สุดในช่วงวัยสูงอายุ และถ้าไม่ได้ดูแลอย่างดี ก็จะมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ ซึ่งที่เป็นปัญหาอย่างมาก คือปัญหาแขนขาอ่อนแรง (อัมพาต / อัมพฤกษ์) ปวดข้อ ปวดหลัง และขาหัก ซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลงไปมาก

การควบคุมโรคต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ผลดี เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ขึ้นอยู่กับการควบคุมดูแลเรื่องอาหารอย่างระมัดระวัง การจัดการเรื่องอาหารสำหรับผุ้สูงอายุ มีความยากลำบากพอควร เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการเลือกและการกินอาหาร ซึ่งได้แก่

Availability of foods in the local environment The food selection model
Nutrition knowledge and/or food beliefs physical availability
Habit and previous food experience economic availability
Individual likes and dislikes cultural availability
Facilities for storing, preparing and cooking gatekeeper availability
Cooking just for oneself or eating with and/or cooking for other personal availability
Skills in food preparation and willingness to experiment and develop new skills
 
Financial resources, budgeting skills and the cost of foods  
Time availability and the time required to prepare and eat foods
 
State of health and appitite  

เมื่อจะให้คำแนะนำเรื่องเกี่ยวกับการการให้อาหารเพื่อช่วยเสริมการรักษาโรค จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ี้เพื่อจะทำให้คำแนะนำได้ผลดียิ่งขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นคำแนะนำที่เปล่าประโยชน์

ปัญหาสุขภาพที่การใช้การควบคุมอาหาร มีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค
โรคเบาหวาน

พลังงานมาจากอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรมีตามสัดส่วนดังนี้

C : P : F ~ 5 – 5.5 : 1 – 1.5 : 3 - 3.5

นั่นคือ ประมาณ 50–55 % ของพลังงานมาจากอาหารแป้ง และควรเป็นแป้งที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน (ข้าว มันฝรั่ง เผือก มัน )

อาหารโปรตีนประมาณ 10–15% ของพลังงานทั้งหมด ถ้า 2,000 แคลอรี่ จะเป็น พลังงานจากโปรตีนประมาณ 200–300 แคลอรี่ (50–75 กรัม หรือเท่ากับเนื้อสุก 6–7 ช้อนโต๊ะต่อวัน)

อาหารไขมันประมาณ 30–35% ของพลังงานทั้งหมด และต้องระวังเลือกชนิดของไขมันด้วย โดยกรดไขมันชนิดอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของพลังงานทั้งหมด

การลดกรดไขมันชนิดอิ่มตัวในอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยชลอการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด ทำให้คนไข้ไม่อ้วนมาก และลดอุบัติการณ์ของการดื้ออินซูลิน ซึ่งทำให้คุมเบาหวานลำบากขึ้น

ปัญหาอ้วน

ปัญหาอ้วนเกินเจอได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเมือง เพราะมักจะรับประทานอาหารนิ่ม ๆ ซึ่งมีน้ำตาล แป้ง กะทิ เนย นม เป็นส่วนประกอบหลักทำให้อ้วนได้ง่าย คนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวและมักจะมีปัญหาเรื่องปวดเข่า เรื้อรัง

หลักเกณฑ์การลดน้ำหนักได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม

อาหารทางสมองของผู้สูงอายุหลายชนิด มีผลจากการขาดวิตามิน ได้แก่ วิตามิน B1, B12, B6


อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ



อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา บางท่านใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย บางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน

อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก

การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง

ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก

สาเหตุ

อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
  1. รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
    เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

  2. ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
    น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา

  3. ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้

  4. การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

    ยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น

  5. โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
ภาวะแทรกซ้อน

ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก และอาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้

การดูแลรักษา

การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้
  1. ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน
  3. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
สรุป - อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้
© 2001 พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน

Back To Top © 2001-2009 RxRama ---- All rights reserved.