Pharmacy Division Ramathibodi Hospital

Home
Pharmacist
About
รอบรู้เรื่องยา
คุยกันเรื่องยา


ยาที่ควรมีไว้ประจำบ้าน


ภญ. ศุภศิล สระเอี่ยม


ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ซึ่งกำหนดชนิดของยา สรรพคุณ วิธีใช้ ขนาดบรรจุของยา และคำเตือนหรือข้อแนะนำ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้สำหรับการบำบัดรักษาอาการของโรค ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ สำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัว
 
 การเก็บรักษายา

 ตู้ยาประจำบ้าน ควรจัดเก็บยาให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ และให้ยาคงมีสภาพดีอยู่เสมอ
1. แยกเก็บยาสำหรับรับประทาน และยาใช้ภายนอก
2. ยาที่เก็บต้องมีฉลากถูกต้อง ไม่เลอะเลือน
3. เก็บยาไว้ในตู้ให้พ้นมือเด็ก
4. ควรเก็บยาไว้ในที่แสงแดดส่องไม่ถึง ห่างไกลจากความร้อนชื้น ตลอดจนเปลวไฟ
5. อย่าเก็บยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู หรือสารพิษอื่นๆไว้ในตู้ยา เพราะอาจมีใครหยิบผิด ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงขึ้น
 
 ข้อแนะนำในการใช้ยารักษาตนเอง

1. ถ้าต้องการใช้ยารักษาตนเอง ควรมีความรู้เรื่องยานั้นดีพอ และควรใช้เฉพาะในช่วงระยะเวลาอันสั้น หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
2. ในกรณีที่สงสัยว่าแพ้ยา ควรหยุดยาทันที และรีบไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่าเปลี่ยนยาเอง
3. อย่าใช้ยาซึ่งไม่มีฉลากระบุตัวยา และวิธีการใช้ยา
4. อย่าหลงเชื่อคำแนะนำจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องยาดีพอเป็นอันขาด
5. ในกรณีต่อไปนี้ อย่ารักษาตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
 หวัด และแพ้อากาศ
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำมากๆ  ควรเลือกใช้ยาที่เฉพาะต่ออาการที่เป็นเท่านั้น
ไม่ควรใช้ยารักษาอาการหวัดและแพ้อากาศด้วยตนเองในกรณีต่อไปนี้

แอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamine)
คลอเฟนิรามีน (Chlopheniramine)  มีขายในชื่อการค้าว่า ไพริตอน (Piriton)
   วิธีใช้ ผู้ใหญ่ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
   เด็กอายุ 6-12 ปี 1/2 -1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
ฮัยดร็อกซิซีน (Hydroxyzine)  มีขายในชื่อการค้าว่า Atarax ใช้บรรเทาอาการคันและลมพิษ
ข้อควรระวัง
1. ง่วงซึม ปากแห้ง คอแห้ง
2. ผู้ที่มีอาการท้องผูก ปัสสาวะลำบากอยู่แล้ว อาการอาจเป็นมากขึ้น
3. ถ้าให้ยานี้แก่เด็กเล็กๆ อาจทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายได้
ยาแก้แพ้ที่ไม่ง่วง หรือง่วงน้อย
 
 ยาแก้ไอ

 อาการไอ เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายพยายามขับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่ไปทำให้เกิดความระคายเคืองต่อหลอดคอและหลอดลม

 การใช้ยาระงับอาการไอ จำเป็นต้องรู้ว่า ไอแบบไหน
 ยาแก้ไอน้ำดำ (Brown Mixture)
   ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และผู้สูงอายุ
 ยาแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก (Ammonium Carbonate and Glycyrrhyiza Mixture)
 เด็กอายุ 6-12 ปี ครั้งละ     2 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง
 เด็กอายุ   3-6 ปี ครั้งละ     1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง
 เด็กอายุ   1-3 ปี ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง
 
 ท้องเดิน

 สิ่งสำคัญในการรักษาอาการท้องเดิน คือ ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่
 อาการขาดน้ำ  ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว ปากแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว ปัสสาวะน้อย ลุกนั่งจะรู้สึกหน้ามืด ในเด็กเล็ก กระหม่อมจะบุ๋มและนอนซึม หรือหายใจหอบ ถ้าเป็นมากอาจไม่มีปัสสาวะเลย ชีพจรเบาและเร็ว ความดันต่ำ ตัวเย็น กระสับกระส่าย และช้อค (shock)
ไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเดินรักษาตัวเอง ในกรณีต่อไปนี้
1.  อุจจาระมีมูกเลือดปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ (คล้ายกุ้งเน่า)
2.  มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง
3.  มีไข้สูงเกินกว่า 38 ํC อ่อนเพลียมาก
4.  มีอาการท้องเดินนานกว่า 48 ชั่วโมง
5.  เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือผู้สูงอายุเกิน 60 ปี
6.  อยู่ในระยะตั้งครรภ์
7.  มีอาการท้องเดินเรื้อรัง

ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดกิน (Oral Rehydration Salts) หรือ โอ อาร์ เอส
น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ เกลือครึ่งช้อนชา ในน้ำสุก 1 ขวดแม่โขง
ข้อควรระวัง
1. ผู้เป็นโรคไต หรือโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
2. ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการขาดน้ำมาก ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
3. เมื่อละลายน้ำแล้ว ไม่ควรเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ยาที่มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำและสารพิษ
เป็นยาที่เข้าสารบิสธ์มัส (Bisthmus) สารเคาลินและเป็คติน (Kaolin Pectin)
ยาพวกนี้จะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะ ไม่ให้สารพิษต่างๆ ไปกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเดิน และดูดซึมน้ำที่ออกจากลำไส้ให้น้อยลง วิธีใช้    รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามความจำเป็น
ยาที่ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้น้อยลง
เป็นยาประเภทฝิ่น หรือสารสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายฝิ่น มีขายในชื่อการค้าว่า โลโมติล (Lomotil) และอิโมเดียม (Imodium) ใช้ในการระงับอาการท้องเดินที่เป็นค่อนข้างมาก
ข้อควรระวัง
1. ยาประเภทนี้ หยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้เชื้อโรคและสารพิษที่อยู่ในทางเดินอาหาร อยู่ในร่างกายนานขึ้น ทำให้เกิดพิษได้
2. ถ้าใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ติดยาได้
3. ห้ามใช้ยานี้ในเด็กเล็ก เพราะอาจมีผลไปกดศูนย์การควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจได้
 
 ยาแก้ปวด ลดไข้

แอสไพริน (Aspirin)
  วิธีใช้  ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
   ให้รับประทานหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ใน เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และหญิงมีครรภ์ในระยะใกล้คลอด
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยไข้เลือดออก
3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคแผลในระบบทางเดินอาหาร และโรคหอบหืด
4. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดไหลแล้วหยุดยาก
5. ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะแพ้ยา หรือมีอาการแทรกซ้อนจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และได้ยินเสียงในหู ให้หยุดใช้ยาทันที
พาราเซตามอล (Paracetamol)
ชนิดเม็ด ขนาดเม็ดละ 500 มก. และ 325 มก.
ชนิดน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ขนาดยา 120 มก. ต่อช้อนชา
 เด็กอายุ 3-6 ปี ครั้งละ    1 ช้อนชา ทุก 4-6 ชั่วโมง
 เด็กอายุ 1-3 ปี ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา ทุก 4-6 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง
1.  ไม่ใช้ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เนื่องจากอาจมีพิษต่อตับได้
2.  ไม่ใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง
 วิธีลดไข้
 เช็ดตัวบริเวณซอกคอ ซอกรักแร้ และขาหนีบบ่อยๆ ประมาณ 15-30 นาที จะช่วยลดไข้ได้เป็นอย่างดี
 
 ยาช่วยย่อยและยาขับลม

 การป้องกันอาการแน่นท้อง  ไม่ควรใช้ยาช่วยย่อยและยาขับลมรักษาตนเองในกรณีต่อไปนี้   1. ยาธาตุน้ำแดง (Mixt. Stomachica)
     คาร์มิเนทีฟ (Mixt. Carminative)
     ซาลอล-เทนทอล (Mixt. Salol Menthol)
     ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร
2. ยาเม็ดที่ดูดแก๊สในทางเดินอาหาร เช่น
           ยาเม็ดผงถ่าน อุลตราคาร์บอน (Ultracarbon)
           ยาเม็ดแฟลตูแลนซ์ (Flatulance)
     ครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร
3. ยาลดกรด  เป็นยาที่ใช้แก้อาการปวดท้อง จุกเสียด แน่น เนื่องจากมีแก๊สหรือกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือใช้รักษาผู้ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบ
 เป็นส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ไฮดร็อกไซด์ (Aluminium hydroxide) และแมกนีเซียม ไฮดร็อกไซด์ (Magnesium hydroxide) ผสมอยู่ เช่น แอนตาซิล (Antacil), อะลัมมิลค์ (Alum milk), เกลูซิล (Gelusil)
ยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาลดกรดได้   เช่น
 ยาถ่ายดัลโคแลกซ์ (Dulcolax) ถ้าให้รับประทานร่วมกับยาลดกรด ทำให้ปวดท้องได้
 ยาเตตราซัยคลิน (Tetracycline) ถ้าให้รับประทานร่วมกับยาลดกรด ทำให้ยาเตตราซัยคลินไม่ออกฤทธิ์ ทำให้การรักษาอาการอักเสบหรือติดเชื้อไม่ได้ผล
ไม่ควรใช้ยาลดกรดรักษาตนเองในกรณีต่อไปนี้
1. อาการเสียดแน่นรุนแรง และมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หอบแน่น หายใจลำบากร่วมด้วย
2. มีอาการอาเจียนร่วมด้วย หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
 
 ยาถ่าย ยาระบาย

การป้องกันอาการท้องผูก
1. กินอาหารที่มีกากมาก ประเภทผัก ผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายพอสมควรสม่ำเสมอ และไม่กลั้นอุจจาระถ้าไม่จำเป็น
2. ยาบางชนิดมีส่วนทำให้ท้องผูกมากขึ้น เช่น ยาแก้ปวดที่ผสมสารโคเดอีน ยาแก้ปวดท้องบางชนิด เช่น ดอนนาตาล (Donnatal) ยาระงับประสาท เช่น เมลลารีล (Mellaril)
ไม่ควรใช้ยารักษาตนเองในกรณี
1. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องร่วมด้วย
2. กำลังเป็นริดสีดวงทวารหนักในระยะอักเสบรุนแรง
3. มีเลือดออกปนกับอุจจาระ
4. มีอาการท้องผูก สลับกับอาการท้องเดิน
 
 อาการคลื่นไส้อาเจียน
 ยาถ่ายพยาธิ

ตรวจหาไข่ หรือตัวพยาธิในอุจจาระ
มีเบนดาโซล (Mebendazole) พยาธิตัวกลม
ชื่อการค้า ฟูกาคาร์ (Fugacar) 1 X 2 X 3

 
 วิตามิน

 เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการดำรงชีพโดยปกติสุข
 วิตามิน = วิตา (Vita) + เอมีน (Amine)
1. ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน เอ ดี อี เค
2. ละลายในน้ำ เช่น  วิตามิน บี1 บี2 บี6 บี12 ซี ฯลฯ
ใครต้องการวิตามินเพิ่มเติมบ้าง
1. ขาดอาหาร
      ปลาร้า ขาดวิตามิน บี1
2. หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
3. ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด

วิตามิน บีรวม  บี1 บี6 บี12
บี2
ซี
โทษของวิตามิน
วิตามิน เอ มากไป
 ผมร่วง ปวดศีรษะ ตาพร่า ตับโต
 ทารกในครรภ์รูปร่างผิดปกติ
วิตามิน ดี มากไป
 แคลเซียมในเลือดสูง ไตล้มเหลว คลื่นไส้ อาเจียน
 
 ยาที่ใช้รักษาโรคทางผิวหนัง

หิด เหา โลน
ขี้ผึ้งกำมะถัน (Sulphur Ointment)  รักษาหิด
อาจเกิดระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่ควรใช้ในเด็กเล็ก
อย่าทาบริเวณหน้า ห้ามถูกตา
ครีมแกมมา-เบนซีน เฮ็กซาคลอไรด์
(Gamma Benzene Hexachloride)
ชื่อการค้า ลอเร็กเซน (Lorexane)
 น้ำยาเบนซิลเบนโซเอท (Benzyl Benzoate)
เขย่าขวดก่อนใช้ยา
เด็กเล็ก ให้แบ่งยาผสมน้ำเท่าตัว
 รักษาหิด
อาบน้ำให้สะอาด ใช้ผ้าหรือแปรงอ่อนๆ ถูตรงบริเวณที่มีผื่นคัน แล้วทายาให้ทั่ว ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำ ทำติดต่อกัน 2 วัน
 รักษาเหา โลน
ใส่ยาให้ทั่วศีรษะหรือบริเวณที่มีโลน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สระให้สะอาด ทำติดต่อกัน 2 วัน เมื่อครบ 7 วัน ให้ตรวจดูอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังไม่หายให้ทำซ้ำวิธีเดิม
 กลาก เกลื้อน
ขี้ผึ้งวิทฟิลด์ (Whitfield Ointment)
ทาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังอาบน้ำ ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์
น้ำยาโซเดียมไธโอซัลเฟท 20-25%
ใช้ภายใน 2 สัปดาห์หลังผสมแล้ว
ทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย หลังจากนั้นทาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ประมาณ 2-3 สัปดาห์
ครีมทราโวเจน (Travogen) โทนาฟ (Tonaf)
ดาคทาริน (Dactarin) คาเนสเทน (Canesten)
 
 ยาใส่แผล ยาล้างแผล

1. น้ำเกลือ (Normal Saline Solution)
 ล้างแผล ประคบแผล
2. ยาน้ำเยนเชียนไวโอเลต (Gential Violet)
 ฆ่าเชื้อ รักษากระพุ้งแก้มและลิ้นเป็นฝ้าขาว
 ใช้สำลีชุบยาทาวันละ 2-3 ครั้ง
 หยุดใช้ยาทันทีเมื่อเกิดการระคายเคืองหรือแพ้ยา
3. น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-Iodine Solution)
 ไม่ควรใช้กับผิวหนังที่อ่อนนุ่ม
4. อัลกอฮอล์ 70%
Ethyl Alcohol หรือ Isopropyl Alcohol
 
 ยาหยอดตา ป้ายตา

 ยาหยอดตา ซัลฟาเซตามายด์ (Sulfacetamide Eye Drops)
เป็นยาฆ่าเชื้อโรค รักษาอาการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
 ยาป้ายตา เตตราซัยคลิน (Tetracycline Eye Ointment)
 ยาหยอดตาที่เป็นอันตราย
1. มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
 Prednisolone, Hydrocortisone, Dexamethasone
 โรคแทรกซ้อน 2. มีส่วนผสมของตัวยาที่ทำให้ม่านตาขยาย

© 1999 ภญ. ศุภศิล สระเอี่ยม

Back To Top © 2001-2009 RxRama ---- All rights reserved.